วิเคราะห์แนวโน้มตลาดคริปโทด้วยทฤษฎี Dow

11 Jan 2567

EP.6 ทฤษฎี Dow

ทฤษฎี Dow เป็นแนวคิดพื้นฐานในการวิเคราะห์ทางเทคนิคที่ให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับพฤติกรรมและแนวโน้มของตลาด ถูกคิดค้นขึ้นโดย Charles Dow หนึ่งในผู้ก่อตั้ง Dow Jones & Company ร่วมกับ Edward Jones ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และต้นศตวรรษที่ 20 ทฤษฎี Dow ทำหน้าที่เป็นพื้นฐานสำหรับการวิเคราะห์ทางเทคนิคสมัยใหม่และเป็นที่นิยมมาจนถึงปัจจุบัน
01 กราฟ Dow

หลักกาสำคัญของทฤษฎี Dow มีอยู่ 6 ข้อ

  1. ราคาสะท้อนทุกอย่างไว้แล้ว ทฤษฎี Dow เริ่มต้นจากการสันนิษฐานว่าข้อมูลทั้งหมดเกี่ยวกับสินทรัพย์ รวมถึงปัจจัยที่ทราบและไม่ทราบ สะท้อนให้เห็นในราคาแล้ว ดังนั้นต้องวิเคราะห์การเคลื่อนไหวของราคา เพื่อทำความเข้าใจอารมณ์ และแนวโน้มของตลาด

  2. ราคาเคลื่อนไหวอย่างเป็นแนวโน้ม ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท
    1. แนวโน้มหลัก: แนวโน้มสำคัญในระยะยาวที่อาจคงอยู่เป็นเวลาหนึ่งปีหรือมากกว่านั้น
    2. แนวโน้มรอง: เป็นแนวภายในแนวโน้มหลัก โดยทั่วไปจะอยู่ในช่วงเวลาสั้นกว่า และเคลื่อนไหวสวนทางกับแนวโน้มหลัก ตัวอย่างเช่น ในแนวโน้มขาขึ้นหลัก แนวโน้มรองจะเป็นการปรับฐานขาลง กินระยะเวลา 3 สัปดาห์ หรือ 3 เดือน
    3. แนวโน้มย่อย: เป็นความผันผวนในระยะสั้นภายในแนวโน้มรอง กินระยะเวลา 2-3 สัปดาห์

  3. แนวโน้มแบ่งออกไปอีก 3 ระยะ
    1. ระยะการสะสม: คือช่วงที่นักลงทุนทราบข้อมูลเริ่มซื้อและสะสม โดยราคายังไม่เคลื่อนไหวมากนัก (ราคาออกข้าง เริ่มไม่มีจุดต่ำใหม่)
    2. ระยะการมีส่วนร่วมของมวลชน: เมื่อแนวโน้มได้รับแรงผลักดัน มวลชนทั่วไปให้ความสนใจเข้าซื้อสินทรัพย์นั้นมากขึ้น ราคาเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว (ราคาวิ่งขึ้น)
    3. ระยะเวลาการจัดจำหน่าย: ในช่วงแนวโน้มขาขึ้น นักลงทุนที่มีข้อมูลจะเริ่มขายออกจากพอร์ท (ราคาไม่ทำจุดสูงใหม่ ราคาเริ่มปรับตัวลดลงจากแรงขาย)

  4. ค่าเฉลี่ยต้องยืนยันซึ่งกันและกัน ราคาควรสัมพันธ์กับปริมาณการซื้อ-ขาย เช่น ราคาปรับตัวขึ้นพร้อมวอลุ่มเพิ่มขึ้น แต่ถ้าราคาขึ้นแต่วอลุ่มลดลง ก็สามารถส่งสัญญาณถึงการกลับตัวของแนวโน้มได้

  5. ปริมาณการซื้อขายควรยืนยันซึ่งกันและกัน การเพิ่มปริมาณการซื้อขายระหว่างแนวโน้มจะสนับสนุนทิศทางของแนวโน้มเมื่อราคาสูงขึ้น (แนวโน้มขาขึ้น) ปริมาณการซื้อขายที่สูงขึ้นเป็นสัญญาณของความแข็งแกร่งของแนวโน้ม ในทางกลับกัน ในแนวโน้มขาลง ปริมาณการซื้อขายที่สูงขึ้นในวันที่ลดลงเป็นการยืนยันความแข็งแกร่งของแนวโน้มขาลงเช่นกัน

  6. แนวโน้มยังคงมีอยู่จนกว่าจะเกิดสัญญาณเปลี่ยนแนวโน้ม ตามทฤษฎี Dow แนวโน้มหลักยังคงอยู่จนกว่าจะสังเกตเก็นสัญญาณการกลับตัวที่ชัดเจน สัญญาณการกลับตัวเหล่านี้อาจรวมถึงการหลุดเส้นแนวโน้ม หรือการเคลื่อนไหวที่มีนัยสำคัญต่อแนวโน้มที่เกิดขึ้น ยกตัวอย่างเช่น การหลุดแนวรับสำคัญ
สรุป

ทฤษฎี Dow เป็นการทำความเข้าใจพฤติกรรมและแนวโน้มของตลาด แต่ไม่มีสัญญาณการซื้อหรือขายที่เฉพาะเจาะจง
นักเทรดและนักวิเคราะห์มักใช้หลักการของทฤษฎี Dow ร่วมกับเครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิคและตัวชี้วัดอื่นๆ เพื่อประกอบการตัดสินใจซื้อขาย
นอกจากนี้ แม้ว่าทฤษฎี Dow ยังคงมีความเกี่ยวข้อง แต่ก็มีการปรับเปลี่ยนและขยายออกไปในการวิเคราะห์ทางเทคนิคสมัยใหม่ โดยผสมผสานแนวคิดและเครื่องมือใหม่ๆ ในการวิเคราะห์ตลาด

บทความที่เกี่ยวข้อง